วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

เสน่ห์ของขนมไทย


"ขนมไทย" มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมของความเป็นไทย นอกจากจะมีความงดงามวิจิตร ละเอียดอ่อน พิถีพิถันในทุกขั้นตอนการทำแล้ว ยังมีรสชาติที่อร่อย หอมกลิ่นพืชพรรณจากธรรมชาติ และกลิ่นอบร่ำควันเทียน อีกทั้งขนมแต่ละชนิดยังมีชื่อเรียกที่บ่งบอกถึงคุณค่า และแฝงไปด้วยความหมายอันเป็นสิริมงคล
ขนมไทย ไม่ปรากฏอย่างแน่ชัดว่าเริ่มต้นขึ้นมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ก็ยังมีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีย่านป่าขนมภายในกำแพงเมือง ซึ่งเป็นแหล่งรวมขนมโดยเฉพาะ อาทิเช่น ขนมกงเกวียน ขนมสำปันนี ขนมชะมด

สมัยสุโขทัย : จากประวัติศาสตร์ที่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศคือ จีนและอินเดียในสมัยสุโขทัย มีส่วนช่วยส่งเสริมการและเปลี่ยนวัฒนธรรม ด้านอาหาร การกินร่วมไปด้วย
สมัยอยุธยา : เริ่มมีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับต่างประเทศทั้งชาติตะวันออกและตะวันตก ไทยเรายิ่งรับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ เครื่องมือเครื่องใช้ วัตถุดิบที่หาได้ ตลอดจนนิสัยการบริโภคของคนไทยเอง จนบางทีคนรุ่นหลังแทบจะแยกไม่ออกเลยว่า อะไรคือขนมไทยแท้ๆ อะไรที่เรายืมเค้ามา เช่น ทองหยิบ ทองหยอดและฝอยทอง หลายท่านอาจคิดว่าเป็นของไทยแท้ๆ แต่ความจริงแล้วมีต้นกำเนิดจากประเทศโปรตุเกส โดย "มารี กีมาร์" หรือ "ท้าวทองกีบม้า"
"มารี กีมาร์" หรือ "ท้าวทองกีบม้า"เกิดเมื่อ พ.ศ. 2201 หรือ พ.ศ. 2202 แต่บางแห่งก็ว่า พ.ศ. 2209 โดยยึดหลักจากการแต่งงานของเธอที่มีขึ้นในปี พ.ศ. 2225 และขณะนั้น มารี กีมาร์ มีอายุเพียง 16 ปี บิดาชื่อ "ฟานิก (Phanick)" เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมแขกเบงกอล ผู้เคร่งศาสนา ส่วนมารดาชื่อ "อุรสุลา ยามาดา (Ursula Yamada)" ซึ่งมีเชื่อสายญี่ปุ่นผสมโปรตุเกส ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในอยุธยา ภายหลังจากพวกซามูไรชุดแรกจะเดินทางเข้ามาเป็นทหารอาสา ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไม่นานนัก เธอเป็นภรรยาเชื้อชาติญี่ปุ่น สัญชาติโปรตุเกสของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ผู้เป็นกงศุลประจำประเทศไทยในสมัยนั้น
ชีวิตช่วงหนึ่งของ "ท้าวทองกีบม้า" ได้เข้าไปรับราชการในพระราชวังตำแหน่ง "หัวหน้าห้องเครื่องต้น" ดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง เป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลอง
พระองค์ และเก็บผลไม้ของเสวย มีพนักงานอยู่ใต้บังคับบัญชาเป็นหญิงล้วน จำนวน 2,000 คน ซึ่งเธอก็ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ชื่นชม ยกย่อง มีเงินคืนทอง พระคลังปีละมากๆ ระหว่างที่รับราชการนี่เอง มารี กีมาร์ ได้สอนการทำขนมหวานจำพวก ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง ทองพลุ ทองโปร่ง ขนมผิงและอื่นๆ ให้แก่ผู้ทำงานอยู่กับเธอและสาวๆ เหล่านั้น ได้นำมาถ่ายทอดต่อมายังแต่ละครอบครัวกระจายไปในหมู่คนไทยมาจนปัจจุบันนี้
ถึงแม้ว่า "มารี กีมาร์" หรือ "ท้าวทองกีบม้า" จะมีชาติกำเนิดเป็นชาวต่างชาติ แต่เธอก็เกิด เติบโต มีชีวิตอยูในเมืองไทยจวบจนหมดสิ้นอายุขัย นอกจากนั้น ยังได้ทิ้งสิ่งที่เธอค้นคิด ให้เป็นมรดกตกทอดมาสู่คนรุ่นหลัง ได้กล่าวขวัญถึงด้วยความภาคภูมิ "ท้าวทองกีบม้า เจ้าตำรับอาหารไทย"

ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ : ตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่ 1 มีการแบ่งอาหารออกเป็นของคาวและของหวาน รวมถึงยังมีกาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ขนมไทยแต่ละชนิดจึงมีเรื่องราวที่น่าสนใจ และเปี่ยมเสน่ห์ในตัวเอง
ในสมัยรัตนโกสินทร์นี่เอง จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี กล่าวไว้ว่าในงานสมโภชพระแก้วมรกตและฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้มีเครื่องตั้งสำรับหวานสำหรับพระสงฆ์ 2,000 รูป ประกอบด้วย ขนมไส้ไก่ ขนมฝอย ข้าวเหนียวแก้ว ขนมผิง กล้วยฉาบ ล่าเตียง หรุ่ม สังขยา ฝอยทอง และขนมตะไล
ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่ รวมถึงตำราขนมไทยด้วย จึงนับได้ว่าวัฒนธรรมขนมไทยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรก ตำราอาหารไทยเล่มแรกคือแม่ครัวหัวป่าก์ เขียนโดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ในหนังสือเล่มนี้ มีรายการสำรับของหวานเลี้ยงพระได้แก่ ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมหม้อแกง ขนมหันตรา ขนมถ้วยฟู ขนมลืมกลืน ข้าวเหนียวแก้ว วุ้นผลมะปราง

จะเห็นได้ว่า ขนมจัดเป็นอาหารที่คู่สำรับกับข้าวไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ โดยใช้คำว่าสำรับกับข้าวคาว-หวาน โดยทั่วไปประชาชนจะทำขนมเฉพาะในงานเลี้ยง นับตั้งแต่การทำบุญเลี้ยงพระ งานมงคลและงานพิธีการ
ขนมไทย จึงเป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยอย่างหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดี เพราะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อนประณีตในการทำ ตั้งแต่วัตถุดิบ วิธีการทำ ที่กลมกลืน พิถีพิถัน ในเรื่องรสชาติ สีสัน ความสวยงาม กลิ่นหอม รูปลักษณะชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทาน ขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้น ๆ
ขนมไทยที่นิยมทำกันทุก ๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่าง ๆ เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนมจากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้น ๆ งานสิริมงคล ต่าง ๆ เช่น งานมงคลสมรส ทำบุญวันเกิด หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขกที่มาในงาน เพื่อเป็นศิริมงคลของงานขนมก็จะมีฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกัน ยืดยาวมีอายุยืน ขนมชั้น ก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เฟื่องฟู ขนมทองเอกก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น
ที่มา:http://www.oknation.net/blog/supawan/2012/08/25/entry-1

วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

ชื่อขนมไทยในโบราณ
กระยาสารท:  เป็นขนมหวานของไทย ทำจากถั่ว งา ข้าวคั่ว มาผัดกับน้ำตาล มักจะทำกันมากในช่วงสารทไทย
กล้วยไข่เชื่อม : กล้วยไข่ห่ามๆนำมาเชื่อมกับน้ำเชื่อมที่มีความเข้มข้น เวลารับประทานให้ราดด้วยหัวกะทิข้นๆ
กล้วยบวชชี:   กล้วยบวชชี เป็นขนมหวานชนิดหนึ่งที่คนทั่วไปรู้จักเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นขนมที่ดูเหมือน ธรรมดา แต่มีความเป็นเอกลักษณ์โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้า มะพร้าวหรือน้ำกะทิเป็นวัตถุดิบที่คนไทยนำมาใช้ประกอบอาหาร ตั้งแต่สมัยโบราณจนปัจจุบัน หรือจะใช้กล้วยไข่ก็ได้
กลีบลำดวน:  ขนมกลีบลำดวนเป็นขนมไทยที่มีมาแต่โบราณ เป็นขนมในงานพิธีมงคล นิยมเป็นของฝากในเทศกาลต่างๆ เป็นขนมที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนประณีต ตั้งแต่วัตถุดิบ และวิธีการทำ มีกลิ่น รส หอมหวานกลมกล่อม รูปทรงสวยเลียนแบบดอกลำดวนตามธรรมชาติ ขนมกลีบลำดวนมีส่วนผสมประกอบด้วย แป้งสาลี น้ำตาล น้ำมัน เป็นส่วนใหญ่
กะละแม:  กาละแมมีส่วนผสมตัวแป้งหรือข้าวเหนียว น้ำตาลปีบ และกระทิ กวนให้เป็นเนื้อเดียวกัน มีความเหนียว
แกงบวด:   ขนมประเภทน้ำเชื่อมและกะทิ
ขนมขี้หนู: เป็นขนมไทยโบราณ บ้างเรียกขนมทราย ทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำเชื่อม โรยหน้าด้วยมะพร้าว การรับประทาน ตักใส่ภาชนะ (จานแบนๆ) โรยด้วยมะพร้าวแก่ขูดฝอยตามชอบ (ไม่ใช่มะพร้าวซึก) ขนมที่ดีจะต้องเป็นเหมือนเม็ดทรายละเอียด ร่วนซุย ไม่จับเป็นก้อน หวามเล็กน้อย หอมชื่นใจเมื่อทาน

ขนมเขียว: เป็นขนมพื้นบ้านของจังหวัดปราจีนบุรี ต้นกำเนิดอยู่ที่อำเภอนาดี เป็นขนมลูกผสมระหว่างข้าวเกรียบปากหม้อกับขนมถั่วแปบ เปลือกที่ใช้ห่อข้างนอกใช้แป้งข้าวเจ้าที่เป็นแป้งโม่ โดยผสมข้าวเจ้าแข็ง น้ำปูนใส ใบเตยสับนำไปโม่ด้วยเครื่องโม่จนได้น้ำแป้งสีเขียว นำไปผสมกับแป้งข้าวเจ้าชนิดและแป้งมัน นำไปละเลงบนผ้าขาวบางที่คลุมอยู่บนปากหม้อที่ตั้งน้ำไว้จนเดือด พอสุกแคะใส่จาน ตักไส้ที่ประกอบด้วยถั่วเหลือง มะพร้าวขูด น้ำตาลทราย และเกลือ พับครึ่ง ตักใส่จาน ขนมนี้ต่างจากข้าวเกรียบปากหม้อที่ไม่ต้องกินกับผัก และไม่ต้องกินกับน้ำตาลทรายโรยเกลือเหมือนขนมถั่วแปบ

ขนมไข่ปลา:ทำจากแป้งข้าวเหนียวผสมเนื้อตาลเอาไปต้มสุก ได้แป้งสีเหลือง หรือผสมเผือกเพื่อให้ได้แป้งสีขาว เวลากินต้องคลุกกับมะพร้าวขูดเป็นเส้นและน้ำตาล
ขนมครก:เป็นขนมไทยโบราณชนิดหนึ่ง ทำจากแป้ง น้ำตาล และกะทิ แล้วเทลงบนเตาหลุม เวลาจะทานต้องแคะออกมา เป็นแผ่นวงกลม แล้วมักวางประกบกันตอนรับประทาน
ขนมช่อม่วง :ขนมช่อม่วงจัดเป็นอาหารว่างของคนไทยตั้งแต่โบราณ เป็นขนมที่ต้องใช้ความประณีต ในการจับจีบตัวแป้งหลังการห่อหุ้มไส้แล้วให้มีลักษณะเป็นรูปดอกไม้ ทำให้มีลักษณะขนมที่ดูนุ่มนวล อ่อนหวาน แฝงความมีศิลปะของขนมไทยชาววัง ยิ่งรสชาติของไส้ที่มีเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมูสับ กุ้ง ปลา เป็นต้น นำมาผัดกับรากผักชี กระเทียม พริกไทย ทำให้ขนมช่อม่วงเป็นขนมที่มีเอกลักษณ์ของความเป็นไทยครบถ้วนและควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้
ขนมชะมด:  ขนมนี้จัดเป็นขนมเสี่ยงทายในงานแต่งงาน ไส้เป็นถั่วทองแช่น้ำนึ่งสุกโขลกผสมเกลือและพริกไทย เป็น 3 ลูกบีบติดแล้วชุบแป้งทอด ถ้าทอดแล้วแยกออกจากกัน หมายความว่าจะอยู่ด้วยกันไม่ยืด ถ้ายังติดกัน 2 ลูก หมายความว่าจะมีลูกยาก บางทีต้องชุบแป้ง 3-4 ครั้งจึงไม่แตกจากกัน การแตกจากกันของขนมนี้หมายถึงความแตกแยกของคู่สมรส บางครั้งต้องเปลี่ยนคนทำใหม่ เรียกว่า หาหมอมาแก้

ขนมชั้น:  ขนมชั้น เป็นขนมไทยโบราณที่ใช้ในงานพิธีมงคล โดยมีความเชื่อว่าจะต้องหยอดขนมให้ได้ 9 ชั้น จึงจะเป็นศิริมงคลเจริญก้าวหน้าแก่เจ้าภาพ ส่วนผสมของขนมส่วนใหญ่จะเป็นกะทิ และน้ำตาล แป้ง 3 – 4 ชนิด แล้วแต่สูตรและความชอบเนื้อขนมในแต่ละแบบ
ขนมต้ม:  ขนมต้มขาวนั้น ใช้แป้งข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนกลม ใส่ไส้น้ำตาลหม้อ ลงไปต้มให้สุก โรยด้วยมะพร้าวขูด ต่อมาจึงทำหน้ากระฉีก ซึ่งเป็นมะพร้าวขูดมาเคี่ยวกับน้ำตาลหม้อจนเหนียว ใช้เป็นไส้แทน ส่วนขนมต้มแดง ใช้แป้งข้าวเหนียวแผ่เป็นแผ่นแบน ต้มให้สุก ราดด้วยหน้ากระฉีกที่ค่อนข้างเหลว[
ขนมตาล:  เป็นขนมไทยดั้งเดิม เนื้อขนมมีลักษณะเป็นแป้งสีเหลืองเข้ม นุ่ม ฟู มีกลิ่นตาลหอมหวาน ขนมตาลทำจากเนื้อตาลจากผลตาลที่สุกงอม แป้งข้าวเจ้า กะทิ และน้ำตาล ผสมกันตามกรรมวิธี ใส่กระทงใบตอง โรยมะพร้าวขูด และนำไปนึ่งจนสุก เนื้อลูกตาลยีที่เป็นส่วนผสมในการทำขนมตาล ได้จากการนำผลตาลที่สุกจนเหลืองดำ เนื้อข้างในมีสีเหลือง มีกลิ่นแรง ซึ่งส่วนมากจะหล่นจากต้นเอง มาปอกเปลือกออก นำมายีกับน้ำสะอาดให้หมดสีเหลือง นำน้ำที่ยีแล้วใส่ถุงผ้า ผูกไว้ให้น้ำตกเหลือแต่เนื้อลูกตาล

ขนมถังแตก:  ขนมประเภททอดและฉาบ
ขนมถั่วแปบ:  ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวห่อไส้ที่เป็นถั่วเหลือง มะพร้าวขูด แล้วนำไปนึ่ง ขนมที่มีลักษณะใกล้เคียงกับขนมถั่วแปบคือขนมเขียว มีไส้เป็นแบบเดียวกัน

ขนมถ้วยฟู:  ขนมประเภทนึ่งและกวน
ขนมเทียน: มีอีกชื่อหนึ่งว่าขนมนมสาว ทางภาคเหนือเรียก ขนมจ็อก ซึ่งเป็นขนมที่นิยมใช้ในงานบุญของชาวเชียงใหม่โดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์ แต่เดิมมีไส้มะพร้าวและไส้ถั่วเขียว แต่ในปัจจุบันมีการดัดแปลงไส้ขนมจ็อกออกไปหลากหลายมาก ชาวจีนใช้ขนมเทียนในการไหว้บรรพบุรุษช่วงวันตรุษและวันสารท ไส้เป็นถั่วเขียวกวนบด ถ้าแบบเค็มจะใส่พริกไทยและเกลือ แบบหวานใส่มะพร้าวและน้ำตาลลงไปเพิ่ม ถ้าตัวแป้งทำด้วยแป้งถั่วเรียกขนมเทียนแก้ว
จ่ามงกุฎ:  มงกุฎ สื่อความหมายถึง อยู่ตำแหน่งสูง สง่าสงาม ขนมจ่ามงกุฎ เป็น ขนมโบราณของไทย ที่มีขั้นตอนทำยาก สลับซับซ้อน ปัจจุบันหารับประทานค่อนข้างยาก “จ่ามงกุฎ” หมายถึง อยู่ตำแหน่งสูงสุด เป็นหัวหน้าสูงสุด ซึ่งแสดงถึงความมีเกียรติยศ ชื่อเสียง สมัยก่อนนิยมให้เป็นของขวัญอวยพร เมื่อได้เลื่อนยศ หรือ เลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงาน อวยพรเพื่อให้ได้รับตำแหน่ง หน้าที่การงานสูงขึ้นยิ่ง ๆ ไป ขนมจ่ามงกุฎ มีความเป็นสิริมงคล จึงนิยมใช้ประกอบเครื่องคาวหวานในงานแต่งงาน

ตะโก้: ขนมประเภทกวนและนึ่ง
ถั่วกวน: ขนมประเภทกวนและนึ่ง ทำจากถั่วลิสง
ถั่วตัด:  ทำจากถั่ว งา ลักษณะเป็นแผ่น อร่อยกรอบและหวานมัน
ทับทิมกรอบ:  ทับทิมกรอบเป็นขนมหวานที่รับประทานได้ทุกฤดูกาล นิยมมากที่สุดในฤดูร้อน รับประทานแล้วหอมหวานเย็นอร่อยชื่นใจคลายร้อนได้ดี ประกอบด้วยเม็ดทับทิมกรอบสีแดงสดใสและเม็ดทับทิมกรอบสีชมพูสวย เมื่อเคี้ยวแล้วกรอบมันด้วยรสชาดของแห้ว มีน้ำเชื่อมที่ทำจากน้ำตาลทราย ลอยด้วยดอกมะลิ มีกะทิสดจากการคั้นมะพร้าว น้ำแข็งบดละเอียดหรือน้ำแข็งทุบให้เป็นเม็ดเล็กๆ หอมชื่นใจ

ทองม้วน: เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นม้วนกลมเป็นวง มีลักษณะกรอบ โดยมีส่วนผสมหลักคือ แป้ง มะพร้าว น้ำตาลปีบ ไข่ไก่ น้ำมันพืช และ งาดำ




ทองหยิบ: เป็นขนมโปรตุเกส ทำจากแป้งผสมกับไข่ ตีให้แบนเป็นแผ่นกลมๆ และทำให้สุกในน้ำเดือดผสมกับน้ำตาลเคี่ยว แล้วจับจีบใส่ในถ้วย

ทองหยอด: เป็นขนมโปรตุเกส มีถิ่นกำเนิดจากเมืองอเวโร (โปรตุเกส: Aveiro) เมืองชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศโปรตุเกส ทำจากแป้งผสมกับไข่แดงและน้ำ หยอดลงในน้ำเดือดเคี่ยวกับน้ำตาล เมื่อแป้งสุกจะเป็นเม็ดคล้ายหยดน้ำ มีสีเหลืองทอง

ทองเอก: ขนมไทยที่มีส่วนผสมของแป้งสาลี น้ำตาล ไข่แดง และกะทิ กวนจนข้น แล้วนำใส่แม่พิมพ์ให้ได้รูปตามที่ต้องการ จากนั้นจึงแคะออกจากแม่พิมพ์ แล้วนำมาอบด้วยเทียนอบ

บัวลอย:ขนมไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติอย่างหนึ่ง ด้วยมีกลิ่นหอม และมีรสชาติกลมกล่อม และหนึ่งในขนมไทยที่ได้รับความนิยมมาโดยตลอด คือ บัวลอย-ไข่หวาน เพราะบัวลอย-ไข่หวาน เป็นขนมที่ทำง่าย รสชาติอร่อย มากด้วยคุณค่าทางอาหาร

บ้าบิ่น: ด้านหน้า และ ด้านล่าง ควรเกรียมเหลือง แต่ข้างในนุ่ม จึงจะเป็นลักษณะ ของขนมบ้าบิ่นที่ถูกต้องผิวขนมแห้งแต่ส่วนข้างใน นุ่มเหนียวรสหวานหอมมัน
ปลากริมไข่เต่า: เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งซึ่งนำขนมปลากริม และขนมไข่เต่ามารับประทาน ด้วยกัน ให้รสหวานจากขนมปลากริม และรสเค็มจากขนมไข่เต่าผสมรวมกัน
เผือกกวน: ขนมประเภทกวนและนึ่ง
ฝอยทอง: ฝอยทอง เป็นขนมโปรตุเกส ลักษณะเป็นเส้นฝอยๆ สีทอง ทำจากไข่แดงของไข่เป็ด เคี่ยวในน้ำเดือดและน้ำตาลทราย ชาวโปรตุเกสใช้รับประทานกับขนมปัง กับอาหารมื้อหลักจำพวกเนื้อสัตว์ และใช้รับประทานกับขนมเค้ก โดยมีกำเนิดจากเมืองอาไวโร่ (โปรตุเกส: Aveiro) เมืองชายฝั่งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศโปรตุเกส

มะพร้าวแก้ว:ทำจากมะพร้าว มีรสชาติหอม หวาน และมัน
เม็ดขนุน:ลักษณะคล้ายกับเม็ดขนุน เป็นของหวาน ที่รวมอยู่กับเครื่องทองทั้งหลาย
ลา: หรือขนมลา เป็นขนมหวานพื้นบ้านของทางภาคใต้ ของประเทศไทย ซึ่งทำมาจากแป้งข้าวเจ้า เป็นขนมสำคัญหนึ่งในห้าชนิดที่ใช้สำหรับจัดหฺมฺรับเพื่อนำไป ถวายพระสงฆ์ในงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ซึ่งเป็นงานบุญประเพณีที่สำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราชโดยอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับ ชาวนครศรีธรรมราชปรุงขนมลาขึ้นเพื่อเป็นเสมือนแพรพรรณเสื้อผ้าวุ้นกะทิ
ลูกชุบ:  มีส่วนผสมของถั่ว ขนมลูกชุบการทำลูกชุบจะต้องอาศัยใจรักการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญความประณีต
สังขยาฟักทอง:ขนมประเภทกวนและนึ่ง สังขยาในลูกฟักทอง ที่รสชาติหวานมันและเนียนนุ่ม
สาคูเปียก:  ขนมไทยแบบง่ายๆ ที่มีรสหวานนุ่มเนื้อสาคูเปียกเม็ดกลมใสเมื่อรับประทาน นำ สาคูเปียกมาผสมกับถั่วดำแกงบวดเนื้อนุ่มรสหวานหอมน้ำตาลมะพร้าว
สำปะนี: ขนมประเภทกวนและนึ่ง
เสน่ห์จันทร์:เป็นขนมที่ทำจากแป้ง น้ำตาล กะทิ และไข่แดง กวนผสมเข้าด้วยกันจน แห้ง จึงเรียกขนมชนิดนี้ว่า ขนมเสน่ห์จันทน์
ขอขอบคุณที่มา 
Posted by บน มีนาคม 12, 2011 in คลังคำศัพท์, รายชื่อขนมไทย