วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

ชื่อขนมไทยในโบราณ
กระยาสารท:  เป็นขนมหวานของไทย ทำจากถั่ว งา ข้าวคั่ว มาผัดกับน้ำตาล มักจะทำกันมากในช่วงสารทไทย
กล้วยไข่เชื่อม : กล้วยไข่ห่ามๆนำมาเชื่อมกับน้ำเชื่อมที่มีความเข้มข้น เวลารับประทานให้ราดด้วยหัวกะทิข้นๆ
กล้วยบวชชี:   กล้วยบวชชี เป็นขนมหวานชนิดหนึ่งที่คนทั่วไปรู้จักเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นขนมที่ดูเหมือน ธรรมดา แต่มีความเป็นเอกลักษณ์โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้า มะพร้าวหรือน้ำกะทิเป็นวัตถุดิบที่คนไทยนำมาใช้ประกอบอาหาร ตั้งแต่สมัยโบราณจนปัจจุบัน หรือจะใช้กล้วยไข่ก็ได้
กลีบลำดวน:  ขนมกลีบลำดวนเป็นขนมไทยที่มีมาแต่โบราณ เป็นขนมในงานพิธีมงคล นิยมเป็นของฝากในเทศกาลต่างๆ เป็นขนมที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนประณีต ตั้งแต่วัตถุดิบ และวิธีการทำ มีกลิ่น รส หอมหวานกลมกล่อม รูปทรงสวยเลียนแบบดอกลำดวนตามธรรมชาติ ขนมกลีบลำดวนมีส่วนผสมประกอบด้วย แป้งสาลี น้ำตาล น้ำมัน เป็นส่วนใหญ่
กะละแม:  กาละแมมีส่วนผสมตัวแป้งหรือข้าวเหนียว น้ำตาลปีบ และกระทิ กวนให้เป็นเนื้อเดียวกัน มีความเหนียว
แกงบวด:   ขนมประเภทน้ำเชื่อมและกะทิ
ขนมขี้หนู: เป็นขนมไทยโบราณ บ้างเรียกขนมทราย ทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำเชื่อม โรยหน้าด้วยมะพร้าว การรับประทาน ตักใส่ภาชนะ (จานแบนๆ) โรยด้วยมะพร้าวแก่ขูดฝอยตามชอบ (ไม่ใช่มะพร้าวซึก) ขนมที่ดีจะต้องเป็นเหมือนเม็ดทรายละเอียด ร่วนซุย ไม่จับเป็นก้อน หวามเล็กน้อย หอมชื่นใจเมื่อทาน

ขนมเขียว: เป็นขนมพื้นบ้านของจังหวัดปราจีนบุรี ต้นกำเนิดอยู่ที่อำเภอนาดี เป็นขนมลูกผสมระหว่างข้าวเกรียบปากหม้อกับขนมถั่วแปบ เปลือกที่ใช้ห่อข้างนอกใช้แป้งข้าวเจ้าที่เป็นแป้งโม่ โดยผสมข้าวเจ้าแข็ง น้ำปูนใส ใบเตยสับนำไปโม่ด้วยเครื่องโม่จนได้น้ำแป้งสีเขียว นำไปผสมกับแป้งข้าวเจ้าชนิดและแป้งมัน นำไปละเลงบนผ้าขาวบางที่คลุมอยู่บนปากหม้อที่ตั้งน้ำไว้จนเดือด พอสุกแคะใส่จาน ตักไส้ที่ประกอบด้วยถั่วเหลือง มะพร้าวขูด น้ำตาลทราย และเกลือ พับครึ่ง ตักใส่จาน ขนมนี้ต่างจากข้าวเกรียบปากหม้อที่ไม่ต้องกินกับผัก และไม่ต้องกินกับน้ำตาลทรายโรยเกลือเหมือนขนมถั่วแปบ

ขนมไข่ปลา:ทำจากแป้งข้าวเหนียวผสมเนื้อตาลเอาไปต้มสุก ได้แป้งสีเหลือง หรือผสมเผือกเพื่อให้ได้แป้งสีขาว เวลากินต้องคลุกกับมะพร้าวขูดเป็นเส้นและน้ำตาล
ขนมครก:เป็นขนมไทยโบราณชนิดหนึ่ง ทำจากแป้ง น้ำตาล และกะทิ แล้วเทลงบนเตาหลุม เวลาจะทานต้องแคะออกมา เป็นแผ่นวงกลม แล้วมักวางประกบกันตอนรับประทาน
ขนมช่อม่วง :ขนมช่อม่วงจัดเป็นอาหารว่างของคนไทยตั้งแต่โบราณ เป็นขนมที่ต้องใช้ความประณีต ในการจับจีบตัวแป้งหลังการห่อหุ้มไส้แล้วให้มีลักษณะเป็นรูปดอกไม้ ทำให้มีลักษณะขนมที่ดูนุ่มนวล อ่อนหวาน แฝงความมีศิลปะของขนมไทยชาววัง ยิ่งรสชาติของไส้ที่มีเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมูสับ กุ้ง ปลา เป็นต้น นำมาผัดกับรากผักชี กระเทียม พริกไทย ทำให้ขนมช่อม่วงเป็นขนมที่มีเอกลักษณ์ของความเป็นไทยครบถ้วนและควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้
ขนมชะมด:  ขนมนี้จัดเป็นขนมเสี่ยงทายในงานแต่งงาน ไส้เป็นถั่วทองแช่น้ำนึ่งสุกโขลกผสมเกลือและพริกไทย เป็น 3 ลูกบีบติดแล้วชุบแป้งทอด ถ้าทอดแล้วแยกออกจากกัน หมายความว่าจะอยู่ด้วยกันไม่ยืด ถ้ายังติดกัน 2 ลูก หมายความว่าจะมีลูกยาก บางทีต้องชุบแป้ง 3-4 ครั้งจึงไม่แตกจากกัน การแตกจากกันของขนมนี้หมายถึงความแตกแยกของคู่สมรส บางครั้งต้องเปลี่ยนคนทำใหม่ เรียกว่า หาหมอมาแก้

ขนมชั้น:  ขนมชั้น เป็นขนมไทยโบราณที่ใช้ในงานพิธีมงคล โดยมีความเชื่อว่าจะต้องหยอดขนมให้ได้ 9 ชั้น จึงจะเป็นศิริมงคลเจริญก้าวหน้าแก่เจ้าภาพ ส่วนผสมของขนมส่วนใหญ่จะเป็นกะทิ และน้ำตาล แป้ง 3 – 4 ชนิด แล้วแต่สูตรและความชอบเนื้อขนมในแต่ละแบบ
ขนมต้ม:  ขนมต้มขาวนั้น ใช้แป้งข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนกลม ใส่ไส้น้ำตาลหม้อ ลงไปต้มให้สุก โรยด้วยมะพร้าวขูด ต่อมาจึงทำหน้ากระฉีก ซึ่งเป็นมะพร้าวขูดมาเคี่ยวกับน้ำตาลหม้อจนเหนียว ใช้เป็นไส้แทน ส่วนขนมต้มแดง ใช้แป้งข้าวเหนียวแผ่เป็นแผ่นแบน ต้มให้สุก ราดด้วยหน้ากระฉีกที่ค่อนข้างเหลว[
ขนมตาล:  เป็นขนมไทยดั้งเดิม เนื้อขนมมีลักษณะเป็นแป้งสีเหลืองเข้ม นุ่ม ฟู มีกลิ่นตาลหอมหวาน ขนมตาลทำจากเนื้อตาลจากผลตาลที่สุกงอม แป้งข้าวเจ้า กะทิ และน้ำตาล ผสมกันตามกรรมวิธี ใส่กระทงใบตอง โรยมะพร้าวขูด และนำไปนึ่งจนสุก เนื้อลูกตาลยีที่เป็นส่วนผสมในการทำขนมตาล ได้จากการนำผลตาลที่สุกจนเหลืองดำ เนื้อข้างในมีสีเหลือง มีกลิ่นแรง ซึ่งส่วนมากจะหล่นจากต้นเอง มาปอกเปลือกออก นำมายีกับน้ำสะอาดให้หมดสีเหลือง นำน้ำที่ยีแล้วใส่ถุงผ้า ผูกไว้ให้น้ำตกเหลือแต่เนื้อลูกตาล

ขนมถังแตก:  ขนมประเภททอดและฉาบ
ขนมถั่วแปบ:  ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวห่อไส้ที่เป็นถั่วเหลือง มะพร้าวขูด แล้วนำไปนึ่ง ขนมที่มีลักษณะใกล้เคียงกับขนมถั่วแปบคือขนมเขียว มีไส้เป็นแบบเดียวกัน

ขนมถ้วยฟู:  ขนมประเภทนึ่งและกวน
ขนมเทียน: มีอีกชื่อหนึ่งว่าขนมนมสาว ทางภาคเหนือเรียก ขนมจ็อก ซึ่งเป็นขนมที่นิยมใช้ในงานบุญของชาวเชียงใหม่โดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์ แต่เดิมมีไส้มะพร้าวและไส้ถั่วเขียว แต่ในปัจจุบันมีการดัดแปลงไส้ขนมจ็อกออกไปหลากหลายมาก ชาวจีนใช้ขนมเทียนในการไหว้บรรพบุรุษช่วงวันตรุษและวันสารท ไส้เป็นถั่วเขียวกวนบด ถ้าแบบเค็มจะใส่พริกไทยและเกลือ แบบหวานใส่มะพร้าวและน้ำตาลลงไปเพิ่ม ถ้าตัวแป้งทำด้วยแป้งถั่วเรียกขนมเทียนแก้ว
จ่ามงกุฎ:  มงกุฎ สื่อความหมายถึง อยู่ตำแหน่งสูง สง่าสงาม ขนมจ่ามงกุฎ เป็น ขนมโบราณของไทย ที่มีขั้นตอนทำยาก สลับซับซ้อน ปัจจุบันหารับประทานค่อนข้างยาก “จ่ามงกุฎ” หมายถึง อยู่ตำแหน่งสูงสุด เป็นหัวหน้าสูงสุด ซึ่งแสดงถึงความมีเกียรติยศ ชื่อเสียง สมัยก่อนนิยมให้เป็นของขวัญอวยพร เมื่อได้เลื่อนยศ หรือ เลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงาน อวยพรเพื่อให้ได้รับตำแหน่ง หน้าที่การงานสูงขึ้นยิ่ง ๆ ไป ขนมจ่ามงกุฎ มีความเป็นสิริมงคล จึงนิยมใช้ประกอบเครื่องคาวหวานในงานแต่งงาน

ตะโก้: ขนมประเภทกวนและนึ่ง
ถั่วกวน: ขนมประเภทกวนและนึ่ง ทำจากถั่วลิสง
ถั่วตัด:  ทำจากถั่ว งา ลักษณะเป็นแผ่น อร่อยกรอบและหวานมัน
ทับทิมกรอบ:  ทับทิมกรอบเป็นขนมหวานที่รับประทานได้ทุกฤดูกาล นิยมมากที่สุดในฤดูร้อน รับประทานแล้วหอมหวานเย็นอร่อยชื่นใจคลายร้อนได้ดี ประกอบด้วยเม็ดทับทิมกรอบสีแดงสดใสและเม็ดทับทิมกรอบสีชมพูสวย เมื่อเคี้ยวแล้วกรอบมันด้วยรสชาดของแห้ว มีน้ำเชื่อมที่ทำจากน้ำตาลทราย ลอยด้วยดอกมะลิ มีกะทิสดจากการคั้นมะพร้าว น้ำแข็งบดละเอียดหรือน้ำแข็งทุบให้เป็นเม็ดเล็กๆ หอมชื่นใจ

ทองม้วน: เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นม้วนกลมเป็นวง มีลักษณะกรอบ โดยมีส่วนผสมหลักคือ แป้ง มะพร้าว น้ำตาลปีบ ไข่ไก่ น้ำมันพืช และ งาดำ




ทองหยิบ: เป็นขนมโปรตุเกส ทำจากแป้งผสมกับไข่ ตีให้แบนเป็นแผ่นกลมๆ และทำให้สุกในน้ำเดือดผสมกับน้ำตาลเคี่ยว แล้วจับจีบใส่ในถ้วย

ทองหยอด: เป็นขนมโปรตุเกส มีถิ่นกำเนิดจากเมืองอเวโร (โปรตุเกส: Aveiro) เมืองชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศโปรตุเกส ทำจากแป้งผสมกับไข่แดงและน้ำ หยอดลงในน้ำเดือดเคี่ยวกับน้ำตาล เมื่อแป้งสุกจะเป็นเม็ดคล้ายหยดน้ำ มีสีเหลืองทอง

ทองเอก: ขนมไทยที่มีส่วนผสมของแป้งสาลี น้ำตาล ไข่แดง และกะทิ กวนจนข้น แล้วนำใส่แม่พิมพ์ให้ได้รูปตามที่ต้องการ จากนั้นจึงแคะออกจากแม่พิมพ์ แล้วนำมาอบด้วยเทียนอบ

บัวลอย:ขนมไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติอย่างหนึ่ง ด้วยมีกลิ่นหอม และมีรสชาติกลมกล่อม และหนึ่งในขนมไทยที่ได้รับความนิยมมาโดยตลอด คือ บัวลอย-ไข่หวาน เพราะบัวลอย-ไข่หวาน เป็นขนมที่ทำง่าย รสชาติอร่อย มากด้วยคุณค่าทางอาหาร

บ้าบิ่น: ด้านหน้า และ ด้านล่าง ควรเกรียมเหลือง แต่ข้างในนุ่ม จึงจะเป็นลักษณะ ของขนมบ้าบิ่นที่ถูกต้องผิวขนมแห้งแต่ส่วนข้างใน นุ่มเหนียวรสหวานหอมมัน
ปลากริมไข่เต่า: เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งซึ่งนำขนมปลากริม และขนมไข่เต่ามารับประทาน ด้วยกัน ให้รสหวานจากขนมปลากริม และรสเค็มจากขนมไข่เต่าผสมรวมกัน
เผือกกวน: ขนมประเภทกวนและนึ่ง
ฝอยทอง: ฝอยทอง เป็นขนมโปรตุเกส ลักษณะเป็นเส้นฝอยๆ สีทอง ทำจากไข่แดงของไข่เป็ด เคี่ยวในน้ำเดือดและน้ำตาลทราย ชาวโปรตุเกสใช้รับประทานกับขนมปัง กับอาหารมื้อหลักจำพวกเนื้อสัตว์ และใช้รับประทานกับขนมเค้ก โดยมีกำเนิดจากเมืองอาไวโร่ (โปรตุเกส: Aveiro) เมืองชายฝั่งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศโปรตุเกส

มะพร้าวแก้ว:ทำจากมะพร้าว มีรสชาติหอม หวาน และมัน
เม็ดขนุน:ลักษณะคล้ายกับเม็ดขนุน เป็นของหวาน ที่รวมอยู่กับเครื่องทองทั้งหลาย
ลา: หรือขนมลา เป็นขนมหวานพื้นบ้านของทางภาคใต้ ของประเทศไทย ซึ่งทำมาจากแป้งข้าวเจ้า เป็นขนมสำคัญหนึ่งในห้าชนิดที่ใช้สำหรับจัดหฺมฺรับเพื่อนำไป ถวายพระสงฆ์ในงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ซึ่งเป็นงานบุญประเพณีที่สำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราชโดยอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับ ชาวนครศรีธรรมราชปรุงขนมลาขึ้นเพื่อเป็นเสมือนแพรพรรณเสื้อผ้าวุ้นกะทิ
ลูกชุบ:  มีส่วนผสมของถั่ว ขนมลูกชุบการทำลูกชุบจะต้องอาศัยใจรักการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญความประณีต
สังขยาฟักทอง:ขนมประเภทกวนและนึ่ง สังขยาในลูกฟักทอง ที่รสชาติหวานมันและเนียนนุ่ม
สาคูเปียก:  ขนมไทยแบบง่ายๆ ที่มีรสหวานนุ่มเนื้อสาคูเปียกเม็ดกลมใสเมื่อรับประทาน นำ สาคูเปียกมาผสมกับถั่วดำแกงบวดเนื้อนุ่มรสหวานหอมน้ำตาลมะพร้าว
สำปะนี: ขนมประเภทกวนและนึ่ง
เสน่ห์จันทร์:เป็นขนมที่ทำจากแป้ง น้ำตาล กะทิ และไข่แดง กวนผสมเข้าด้วยกันจน แห้ง จึงเรียกขนมชนิดนี้ว่า ขนมเสน่ห์จันทน์
ขอขอบคุณที่มา 
Posted by บน มีนาคม 12, 2011 in คลังคำศัพท์, รายชื่อขนมไทย
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น