วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556



จีบตัวนก ขนมจีบไทย


อาหารว่างไทยโบราณอีกหนึ่งชนิดที่หลายๆคนไม่เคยได้ยินชื่อ หรือหาทานได้ยากแล้วในปัจจุบัน ขนมจีบไทยที่นำแป้งมากวนจนปั้นเป็นก้อน ปั้นให้เป็นรูปทรงตัวนกแล้วจับจีบรอบลำตัว ตัวไส้เป็นเนื้อไก่สับ เหมาะสำหรับทำกินเล่นหรือทำในงานเลี้ยงต่างๆ เนื่องจากรูปร่างที่น่ารักสวยงาม

สูตรอาหารจีบตัวนก ขนมจีบไทย


ระยะเวลาทำ 1 ชม.

เครื่องปรุงจีบตัวนก ขนมจีบไทย

ส่วนผสมแป้ง (ใช้ถ้วยตวงแห้ง)
1. แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วย
2. แป้งท้าว 1 ช้อนโต๊ะ
3. แป้งมัน 2 ช้อนโต๊ะ
4. น้ำ 1 ถ้วย

ส่วนผสมไส้
5. อกไก่ (นึ่งสุก-แยกน้ำเก็บไว้-สับละเอียด) 250 กรัม
6. ถั่วลิสง (คั่ว-ร่อน-โขลกละเอียด) 1/2 ถ้วย
7. หอมใหญ่ (หั่นชิ้นเล็กๆ ละเอียด) 1/2 ถ้วย
8. รากผักชี กระเทียม พริกไทย โขลกละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ
9. น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วย
10. เกลือ 2-3 ช้อนชา
11. น้ำมันสำหรับผัด 1/2 ถ้วย

โรยหน้าและผักเคียง
12. กระเทียม (สับ-เจียว) 1/2 ถ้วย
13. ผักชี
14. ผักกาดหอม
15. พริกขี้หนู

วิธีทำจีบตัวนก ขนมจีบไทย

1. กะทะทองใส่ แป้งข้าวจ้าว แป้งท้าว แป้งมัน น้ำผสมกัน ตั้งไฟกลาง กวนจนแป้งสุกใส ตักขึ้นมานวดจนนิ่ม ใช้แป้งมันทำแป้งนวล (กันติดมือ แต่ถ้ามากไปแป้งจะแข็ง) แบ่งแป้งปั้นเป็นก้อนกลม ใส่ถุงพักไว้
2. กะทะใส่น้ำมันผัดเครื่องโขลก (รากผักชี กระเทียม พริกไทย) จนหอม ใส่น้ำซุปที่นึ่งไก่ (เล็กน้อย) หอมสับ อกไก่สับ ผัดให้เข้ากัน จนสุก ปรุงรส น้ำตาลทราย เกลือ ให้มีรสเค็มนำ หวานตาม ผัดให้ตะหลิวยีๆ กดๆ
3. แป้งก้อนกลม ขึ้นเบ้า แผ่ออก ใส่ไส้ หุ้มให้มิด เหลือส่วนหัวไว้ ใช้ที่จับจีบรอบตัว (เอาที่จีบจุ่มแป้งมันกันติดเวลาหนีบ) ส่วนหัวนกติดงาดำทำเป็นตา ปากให้แครอทเสียบ วางเรียงในรังถึงปูใบตองทาน้ำมัน พรมน้ำก่อนนำไปนึ่งไฟแรง 5 – 8 นาที จนสุก จัดใส่จานทานกับผักกาดหอม ผักชี พริกขี้หนู กระเทียมเจียว
ที่มา www.foodtravel.tv

ตามหลักฐานทางบทประพันธ์ของกาพย์เห่ชมเครื่องหวาน ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่2) ทรงประพันธ์ไว้ว่า

ช่อม่วงเหมาะมีรส หอมปรากฏกลโกสุม
คิดสีสไบคลุม หุ้มห่อม่วงดวงพุดตาน

การเปรียบเทียบรสชาติของขนมมีความหอมหวานดั่งดอกไม้ สีม่วงของขนมคล้ายสีดอกพุดตาน เหมือนกับสีสไบที่หญิงงามได้ห่มไว้

ขนมช่อม่วงจัดได้ว่าเป็นอาหารว่างของคนไทยมาแต่โบราณ เป็นอาหารว่างที่ต้องใช้ความประณีต ในการจับจีบตัวแป้งหลังการห่อหุ้มไส้แล้ว ด้วยแหนบทองเหลือง ให้มีลักษณะเป็นรูปดอกไม้ อาหารว่างชนิดนี้จึงมีลักษณะอ่อนหวาน นุ่มนวล แฝงไปด้วยความมีศิลปะของอาหารว่างไทยชาววัง ยิ่งรสชาติของไส้ที่มีเนื้อสัตว์ เช่น หมู กุ้ง ไก่ เป็นต้น มาผัดรวมกับรากผักชี กระเทียม พริกไทย ทำให้ช่อม่วง เป็นอาหารว่างไทยที่มีเอกลักษณ์ครบถ้วน และควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้

ช่อม่วงสูตรนี้ เป็นสูตรของ ผู้ช่วยศาตราจารย์สมคิด ชมสุข อดีตรองคณะบดีคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ท่านเป็นอาจารย์ประจำสาขาอาหารและโภชนาการ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารไทย ขนมไทยและอาหารว่างไทย

สูตรช่อม่วง (อาหารว่างไทยโบราณ)


สำหรับ 100-120 ดอก (หากทำในปริมาณที่น้อยให้ลดสูตรลงมาครึ่งหนึ่ง)

วัตถุดิบช่อม่วง (อาหารว่างไทยโบราณ)

ส่วนผสมแป้ง

1. แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วย
2. แป้งท้าวยายม่อม 2 ช้อนโต๊ะ
3. แป้งมัน 1/2 ถ้วย (และเพิ่มเป็นแป้งนวล 1/2 ถ้วย)
4. แป้งข้าวเหนียว 2 ช้อนโต๊ะ
5. น้ำเปล่าหรือน้ำอัญชัน 1 1/2 ถ้วย
6. น้ำมันพืช 1 ช้อนโต๊ะ
7. กระเทียมเจียว
8. กระเทียมสับละเอียด 1 ถ้วย
9. น้ำมันพืช 1 ถ้วย

ส่วนผสมไส้ไก่

1. เนื้อไก่สับละเอียด 1 ถ้วย
2. น้ำตาลปี๊บ 1 ช้อนโต๊ะ
3. หอมใหญ่สับละเอียด 1 ถ้วย
4. น้ำตาลทราย 3 ช้อนโต๊ะ
5. รากผักชี 1 ช้อนโต๊ะ
6. น้ำปลา 3-4 ช้อนโต๊ะ
7. กระเทียม 1 ช้อนโต๊ะ
8. เกลือ 1/2 ช้อนโต๊ะ
9. พริกไทยป่น 2 ช้อนชา
10. น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำช่อม่วง (อาหารว่างไทยโบราณ)

วิธีทำส่วนแป้ง

1. นำแป้งข้าวเจ้า แป้งมัน แป้งท้าวยายม่อม แป้งข้าวเหนียว นวดรวมกับน้ำอัญชัน ค่อยๆใส่จนหมด ใส่น้ำมันคนให้เข้ากัน
2. นำไปกวนในกระทะทองเหลือง พอแป้งเริ่มจับเป็นก้อนไม่ติดกระทะ นำไปนวดกับแป้งนวล
3. แบ่งแป้งเป็นก้อนเท่าๆกัน แผ่ใส่ไส้หุ้มให้มิด จับเป็นดอกโดยใช้แหนบจีบ
4. นำไปนึ่งในลังถึงปูใบตองทาน้ำมันประมาณ 5 นาที ยกลง พรมด้วยน้ำมันกระเทียมเจียว
5. จัดเสิร์ฟกับผักกาดหอม และพริกขี้หนู

วิธีทำส่วนไส้

1. โขลกรากผักชี กระเทียม พริกไทย ให้ละเอียด
2. ตั้งน้ำมันพอร้อน ใส่รากผักชี กระเทียม พริกไทยลงผัดให้หอม
3. ใส่ไก่ หอมใหญ่ ผัดให้เข้ากัน
4. ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลทราย เกลือ พอแห้งดีชิมรสหวาน เค็ม ยกลงทิ้งไว้ให้เย็น

หมายเหตุ

ในสูตรนี้ ได้ประมาณ100-120ดอก หากทำในปริมาณที่น้อยให้ลดสูตรลงมาครึ่งหนึ่ง
ที่มา  www.foodtravel.tv/recfoodShow

ขนมไทยของภาคกลาง

ขนมไทยภาคกลาง      ส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวเจ้า เช่น ข้าวตัง นางเล็ด ข้าวเหนียวมูล และมีขนมที่หลุดลอดมาจากรั้ววัง จนแพร่หลายสู่สามัญชนทั่วไป เช่น ลูกชุบ หม้อข้าวหม้อแกง ฝอยทอง  ทองหยิบ เป็นต้น
 ขนมไทยภาคอีสาน
  เป็นขนมที่ทำกันง่ายๆ ไม่พิถีพิถันมากเหมือนขนมภาคอื่น ขนมพื้นบ้านอีสานได้แก่ ข้าวจี่ บายมะขามหรือมะขามบ่ายข้าว ข้าวโป่ง นอกจากนั้นมักเป็นขนมในงานบุญพิธี   ที่เรียกว่า ข้าวประดับดิน โดยชาวบ้านนำข้าวที่ห่อใบตอง มัดด้วยตอกแบบข้าวต้มมัด กระยาสารท ข้าวทิพย์ ข้าวยาคู ขนมพื้นบ้านของจังหวัดเลยมักเป็นขนมง่ายๆ เช่น   ข้าวเหนียวนึ่งจิ้มน้ำผึ้ง ข้าวบ่ายเกลือ คือข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนจิ้มเกลือให้พอมีรสเค็ม ถ้ามีมะขามจะเอามาใส่เป็นไส้เรียกมะขามบ่ายข้าว น้ำอ้อยกะทิ   ทำด้วยน้ำอ้อยที่เคี่ยวจนเหนียว ใส่ถั่วลิสงคั่วและมะพร้าวซอย ข้าวพองทำมาจากข้าวตากคั่วใส่มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นๆ และถั่วลิสงคั่ว กวนกับน้ำอ้อยจนเหนียวเทใส่ถาด   ในงานบุญต่างๆจะนิยมทำขนมปาด (คล้ายขนมเปียกปูนของภาคกลาง) ลอดช่อง และขนมหมก (แป้งข้าวเหนียวโม่ ปั้นเป็นก้อนกลมใส่ไส้กระฉีก   ห่อเป็นสามเหลี่ยมคล้ายขนมเทียน นำไปนึ่ง)
 
 
 
 
 
 
                                         
 
 
 
อ้างอิง
                
 
 
ขนมไทยภาคอีสาน
            เป็นขนมที่ทำกันง่ายๆ ไม่พิถีพิถันมากเหมือนขนมภาคอื่น ขนมพื้นบ้านอีสานได้แก่ ข้าวจี่ บายมะขามหรือมะขามบ่ายข้าว ข้าวโป่ง นอกจากนั้นมักเป็นขนมในงานบุญพิธี ที่เรียกว่า ข้าวประดับดิน โดยชาวบ้านนำข้าวที่ห่อใบตอง มัดด้วยตอกแบบข้าวต้มมัด กระยาสารท ข้าวทิพย์ ข้าวยาคู ขนมพื้นบ้านของจังหวัดเลยมักเป็นขนมง่ายๆ เช่น ข้าวเหนียวนึ่งจิ้มน้ำผึ้ง ข้าวบ่ายเกลือ คือข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนจิ้มเกลือให้พอมีรสเค็ม ถ้ามีมะขามจะเอามาใส่เป็นไส้เรียกมะขามบ่ายข้าว น้ำอ้อยกะทิ ทำด้วยน้ำอ้อยที่เคี่ยวจนเหนียว ใส่ถั่วลิสงคั่วและมะพร้าวซอย ข้าวพองทำมาจากข้าวตากคั่วใส่มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นๆ และถั่วลิสงคั่ว กวนกับน้ำอ้อยจนเหนียวเทใส่ถาด ในงานบุญต่างๆจะนิยมทำขนมปาด (คล้ายขนมเปียกปูนของภาคกลาง) ลอดช่อง และขนมหมก (แป้งข้าวเหนียวโม่ ปั้นเป็นก้อนกลมใส่ไส้กระฉีก ห่อเป็นสามเหลี่ยมคล้ายขนมเทียน นำไปนึ่ง)
ขั้นตอนและวิธีการทำข้าวโป่ง
ส่วนประกอบ
1.น้ำตาล2.ข้าวเหนียวหรือข้าวเหนียวดำแช่น้ำประมาณ4-5ชั่วโมง3.ไข่ไก่4.ไข่ต้มเอาเฉพาะไข่แดง5. น้ำมันพืช
วิธีทำ1.นำข้าวเหนียวที่แช่น้ำมานึ่งให้สุก แล้วนำมาเทลงในกระด้งแล้วคนไปมาให้ไอน้ำออก
2.นำข้าวเหนียวที่ที่นึ่งสุกใหม่ไปโขลกให้ละเอียดด้วยครกมอง
3.พอข้าวเหนียวละเอียดพอประมาณใส่ไข่โขลกให้เข้ากันกับข้าวเหนียว4.เติมน้ำตาลโขลกให้เข้ากับข้าวเหนียว5.นำข้าวเหนียวที่ผสมกับน้ำตาลกับไข่เสร็จแล้วนำไปปั้นเป็นก้อนกลมๆพอประมาณ นำไข่แดงที่ต้มสุกแล้วผสมให้เข้ากันแล้วทามือและทาแผ่นพลาสติกเพื่อไม่ให้แป้งติดกับแผ่นพลาสติก แล้วใช้ถุงพลาสติกที่ตัดไว้วางบนแผ่นกระเบื้องที่ทำความสะอาดเสร็จแล้ว นำข้าวเหนียวที่ปั้นไว้วางบนแผ่นพลาสติก6.นำแผ่นถุงพลาสติกวางทับแล้วนำกระเบื้องวางทับอีกที แล้วกดให้แป้งกระจายออกเป็นแผ่น  วงกลม7.นำแป้งที่กดเป็นวงกลมวางบนเสื่อที่ทำความสะอาดแล้ว8.ทำแบบนี้เรื่อยๆจนแป้งหมด9.แล้วนำข้าวโป่งที่ทำเสร็จมาผึ่งแดดไว้ประมาณ3-4วันแล้วเก็บใส่กล่องปิดฝาให้สนิด10.นำไปย่างไฟให้พองขึ้นพอเหลืองก็สามารถรับประทานได้
ขั้นตอนและวิธีการทำข้าวต้มมัด
ส่วนผส
- ข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม แช่ในน้ำอย่างน้อย 3 ชม. ล้างน้ำให้สะอาด
- หัวกะทิ 3 ถ้วยตวง
- เกลือ 3 ช้อนโต๊ะ
- กล้วยน้ำว้า 15 ลูก ผ่าตามยาวครึ่งลูก
- ถั่วดำหรือถั่วขาว 3 ขีด นำถั่วไปต้มพอสุกแล้วตักวางใส่กระชอนวางให้สะเด็ดน้ำ
วิธีทำ
- นำข้าวเหนียวที่ล้างน้ำสะอาดแล้วใส่กระทะ พักไว้
- ผสมหัวกะทิ กับเกลือ ให้เ้ข้ากัน แล้วชิมดู ถ้าไม่เค็มให้เติมให้มีรสเค็ม
- นำกะทิที่ได้รสเค็มเทใส่ข้าวเหนียว แล้วใส่ถั่วขาวหรือถั่วดำที่ต้มแล้วลงไป แล้วนำไปตั้งไฟแล้วผัด
- ผัดจนกว่ากะทิแห้ง แล้วยกลงจากเตา
- วางใบตอบ 2 ขนาดซ้อนกัน หยิบข้าวเหนียวที่ผัดได้ที่แล้ววางบนใบตอง
- เอากล้วยที่ผ่าซีกวางลงไป แล้วหยิบข้าวเหนียวมาวางปิดกล้วยให้มิด บางๆ
- ห่อข้าวต้มให้สวยงาม แล้ววางไว้ก่อน หรือห่อไปเรื่อยๆ จนหมด
- นำข้าวต้มที่ห่อเรียบร้อยแล้วมาจับคู่ หันหน้าเข้าหากันแล้วมัดรวมกัน หัวท้าย (ดูในรูปเอานะคะ)
- นำข้าวต้มที่มัดเป็นคู่แล้วไปนึ่ง 45 นาที หรือ จนข้าวเหนียวสุก แค่นี้ก็เสร็จขั้นตอนนำมาทานได้แล้วค่ะ อ๊ะ แต่ต้องรอให้เย็นก่อนนะคะ ไม่งั้นปากจะพองได้
ขั้นตอนและวิธีการทำข้าวจี่
วิธีทำ1. นึ่งข้าวเหนียว
2.ปั้นข้าวเหนียว
3ปรุงไข่ที่เราเตรียมไว้
4 นำข้าวที่เราเตรียมไว้มาชุบกับไข่
5. นำข้าวไปจี่ให้ไข่สุก
 ขอบคุณที่มา  sites.google.com/site/noonoknoitisa/khnm-thiy-phakh-xisan

ขนมไทยภาคเหนือ
    ส่วนใหญ่จะทำจากข้าวเหนียว และส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้ม เช่น ขนมเทียน ขนมวง ข้าวต้มหัวหงอก มักทำกันในเทศกาลสำคัญ เช่นเข้าพรรษา สงกรานต์
   ขนมที่นิยมทำในงานบุญเกือยทุกเทศกาลคือขนมใส่ไส้หรือขนมจ๊อก ขนมที่หาซื้อได้ทั่วไปคือ ขนมปาดซึ่งคล้ายขนมศิลาอ่อน ข้าวอีตูหรือข้าวเหนียวแดง   ข้าวแตนหรือข้าวแต๋น ขนมเกลือ ขนมที่มีรับประทานเฉพาะฤดูหนาว ได้แก่ ข้าวหนุกงา ซึ่งเป็นงาคั่วตำกับข้าวเหนียว ถ้าใส่น้ำอ้อยด้วยเรียกงาตำอ้อย   ข้าวแคบหรือข้าวเกรียบว่าว ลูกก่อ ถั่วแปะยี ถั่วแระ ลูกลานต้ม
ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขนมพื้นบ้านได้แก่ ขนมอาละหว่า ซึ่งคล้ายขนมหม้อแกง ขนมเปงม้ง ซึ่งคล้ายขนมอาละหว่าแต่มีการหมักแป้งให้ฟูก่อน ขนมส่วยทะมินทำจากข้าวเหนียวนึ่ง น้ำตาลอ้อยและกะทิ ในช่วงที่มีน้ำตาลอ้อยมากจะนิยมทำขนมอีก 2 ชนิดคือ งาโบ๋  ทำจากน้ำตาลอ้อยเคี่ยวให้เหนียวคล้ายตังเมแล้วคลุกงา กับ แปโหย่ ทำจากน้ำตาลอ้อยและถั่วแปยี มีลักษณะคล้ายถั่วตัด
 
 
 
 
                               
 
 
 
 อ้างอิง                 
 
                  
                    http://www.thaikanom.ob.tc/Work4.htm
ขนมไทยภาคใต้
ชาวใต้มีความเชื่อในเทศกาลวันสารท เดือนสิบ จะทำบุญด้วยขนมที่มีเฉพาะในท้องถิ่นภาคใต้เท่านั้น เช่น ขนมลา ขนมพอง ข้าวต้มห่อด้วยใบกะพ้อ ขนมบ้าหรือขนมลูกสะบ้า ขนมดีซำหรือเมซำ ขนมเจาะหูหรือเจาะรู ขนมไข่ปลา ขนมแดง เป็นต้นตัวอย่างของขนมพื้นบ้านภาคใต้ได้แก่
  • ขนมหน้าไข่ ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำตาล นำไปนึ่ง หน้าขนมทำด้วย กะทิผสมไข่ น้ำตาล เกลือ ตะไคร้และหัวหอม ราดบนตัวขนม แล้วนำไปนึ่งอีกครั้ง
  • ขนมฆีมันไม้ เป็นขนมของชาวไทยมุสลิม ทำจากมันสำปะหลังนำไปต้มให้สุก โรยด้วยแป้งข้าวหมาก เก็บไว้ 1 คืน 1 วันจึงนำมารับประทาน
  • ขนมจู้จุน ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำเชื่อม แล้วเอาไปทอด มีลักษณะเหนียวและอมน้ำมัน
  • ขนมคอเป็ด ทำจากแป้งข้าเจ้าผสมกับแป้งข้าวเหนียว นวดรวมกับไข่ไก่ รีดเป็นแผ่น ตัดเป็นชิ้นๆ เอาไปทอด สุกแล้วเอาไปเคล้ากับน้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนเหนียวข้น
  • ขนมคนที ทำจากใบคนที ผสมกับแป้งและน้ำตาล นึ่งให้สุก คลุกกับมะพร้าวขูด จิ้มกับน้ำตาลทราย
  • ขนมกอแหละ ทำจากแป้งข้าวเจ้ากวนกับกะทิและเกลือ เทใส่ถาด โรยต้นหอม ตัดเป็นชิ้นๆ โรยหน้าด้วย มะพร้าวขูดคั่ว กุ้งแห้งป่น และน้ำตาลทราย
  • ขนมก้านบัว ทำจากข้าวเหนียวนึ่งสุก นำไปโขลกด้วยครกไม้จนเป็นแป้ง รีดให้แบน ตากแดดจนแห้ง ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทอดให้สุก ฉาบด้วยน้ำเชื่อม
  • ข้าวเหนียวเชงา เป็นข้าวเหนียวนึ่งสุก ตำผสมกับงาและน้ำตาลทราย
  • ข้าวเหนียวเสือเกลือก คล้ายข้าวโพดคลุกของภาคกลางแต่เปลี่ยนข้าวโพดเป็นข้าวเหนียวนึ่งสุกและใส่กะทิด้วย
  • ขี้หมาพองเช มีลักษณะเป็นก้อนๆ ทำจากข้าวเหนียวคั่วสุกจนเป็นสีน้ำตาล ตำให้ละเอียดเคล้ากับมะพร้าวขูด น้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนข้น เคล้ให้เข้ากันดี แล้วปั้นเป็นก้อน
ขั้นตอนและวิธีการทำขนมหน้าไข่
 
ส่วนผสมหลัก ๆ
            
ก็มี… ไข่ไก่, น้ำตาลทราย, แป้งสาลี, นมสด, น้ำสะอาด, น้ำมันพืชหรือเนยขาว, ลูกเกด ซึ่งหากยึดที่การใช้แป้งสาลี 1 กิโลกรัม จะต้องใช้น้ำตาลทราย 1.2 กิโล กรัม, ไข่ไก่ 20 ฟอง, นมสด 1 กระป๋อง, น้ำสะอาด, น้ำมันพืชหรือเนยขาว และลูกเกด ซึ่ง 3 อย่างหลังก็ใช้พอเหมาะพอสม
ขั้นตอนการทำ “ขนมไข่”
            
เริ่มจากนำแป้งสาลีมาร่อน 3 ครั้ง แล้วพักไว้ เพื่อให้แป้งเบาตัว จากนั้นหันไปนำไข่ไก่มาตอกใส่อ่างผสม ตีไข่ ให้ขึ้นฟู แล้วเติมน้ำตาลทรายทีละน้อยจนหมด ตีต่อไปจนส่วนผสมมี ลักษณะที่เรียกว่าตั้งยอดอ่อน ๆ ซึ่งขั้นตอนนี้ใช้เวลาทำนานประมาณ 1 ชั่วโมง
แต่ตรงนี้มี “เคล็ดลับ” คือ…การตีไข่กับส่วนผสมนั้น ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ “เครื่องตีเค้ก” เพราะจะเร็วขึ้น ตีแล้วส่วนผสมจะขึ้นดี และทำให้ “ขนมไข่” นุ่มกว่าการตีด้วยมืออีกด้วย
ลำดับต่อไป นำแป้งสาลีที่เตรียมไว้มาค่อย ๆ ตะล่อมใส่ผสมลงไปในอ่างผสมที่มีส่วนผสมของไข่กับน้ำตาลอยู่ ใส่แป้งสลับกับนมสดจนหมด แล้วเคล้าเบา ๆ ให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี ตั้งพักไว้
ล้างพิมพ์ขนมไข่ (มีหลายแบบ) ให้สะอาด เช็ดด้วยน้ำมันพืชให้ทั่ว นำไปผิงไฟ โดยใช้เตาถ่านซึ่งคุแดง เกลี่ยพอประมาณ และวางถ่านด้านบนของฝาพิมพ์ด้วย โดยเมื่อเตาร้อนดีแล้ว ใช้ลูกประคบเล็ก ๆ ชุบน้ำมันหรือเนยขาวเช็ดให้ทั่วบริเวณหลุมหรือเบ้าสำหรับหยอดแป้งขนมใน พิมพ์ ก่อนจะหยอดแป้ง หยิบลูกเกด 2-3 เม็ดใส่ลงไปก่อน แล้วจึงใช้ช้อนตักแป้งหยอดเต็มเบ้าพิมพ์
ขั้นตอนนี้ต้องระวังการใช้ไฟ เพราะขนมอาจไหม้ได้ !!
                
ถ้าใช้ไฟกำลังดี ใช้เวลากำลังดี ก็จะได้ขนมไข่ที่สุกกำลังดี โดยให้คอยสังเกตว่าขนมสุกเหลืองดีแล้วก็ใช้ไม้แหลมจิ้มขนมไข่ หรือใช้ส้อมแซะขนมไข่ออกจากเบ้าพิมพ์ ซึ่งขนมไข่ที่ดีมีคุณภาพนั้น ต้องมีสีเหลืองน่ารับประทาน มีกลิ่นหอม มีความกรอบนอกนุ่มใน และอร่อยกำลังดี
ทั้งนี้ ที่ว่ามาก็เป็นสูตร-วิธีทำ “ขนมไข่” โดยสังเขป ใครที่พอมีพื้นฐานทางการทำขนมอยู่บ้างก็คงจะเข้าใจ ส่วนใครที่ต้องการทราบรายละเอียดมากกว่านี้ ใน “รวมเล่มช่องทางทำกิน เล่ม 6” ซึ่งรวบรวมอาชีพไว้ 50 อาชีพ ทั้งอาหาร ขนม แปรรูป งานประดิษฐ์ ก็จะมีข้อมูลอาชีพการทำการขายขนมไข่ด้วยครับ !!.
 
ขั้นตอนและการทำขนมก้านบัว
 
 
ส่วนผสมตัวแป้ง แป้งสาลีอเนกประสงค์ 1/2 กิโลกรัม
น้ำมันพืช 2 ช้อนโตะ
น้ำ 1 ถ้วย
น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
เกลือ 1 1/2 ช้อนชา
ไข่ไก่ 1 ฟอง
แอมโมเนีย 2 ช้อนชา
โซดา 2 ชอนชา
ส่วนผสมน้ำตาลสำหรับเคลือบ
น้ำตาลทราย 1 1/4 ถ้วย
น้ำ 1/2 ถ้วย
เกลือ 1 ช้อนชา
แบะแซ 20 กรัม
ขิงแก่สับละเอียด 75 กรัม ( 1/3 ถ้วย)
วิธีทำ 1.ร่อนแป้งลงในอ่างผสม ทำเป็นบ่อตรงกลาง
2.ผสมน้ำ น้ำมันพืช น้ำตาลทราย เกลือ ไข่ไก่ แอมโมเนีย โซดา คนให้เข้ากัน
3.เทส่วนผสมข้อ 2 ลงในอ่างแป้ง นวดให้เข้ากัน พักแป้งไว้ 1 ชั่วโมง
4.แบ่งแป้งมาคลึงให้มีความหนาประมาณ 1/4 เชนติเมตร ตัดแป้งเป็นชิ้นยาว3-4 เนติเมตร ทำเช่นนี้จนหมดแป้ง
5.นำแป้งที่ตัดแล้วไปทอดในน้ำมัน จนแป้งมีสีเหลืองกรอบ ตักขึ้นวางบนกระดาษซับน้ำมัน
วิธีทำน้ำตาลเคลือบ ผสมน้ำ น้ำตาลทราย เกลือ แบะแซ ขิงแก่ ลงในกระทะ นำไปตั้งไฟเคี่ยว จนเหนียวข้น ใส่แป้งที่ทอดแล้วลงคลุกให้เข้ากัน จนน้ำตาลแห้ง จับทั่วตัวแป้ง(ตอนน้ำตาลใกล้จะแห้ง ให้หรี่ไฟลงอ่อนๆ )
 
ขั้นตอนและวิธีการทำขนมกอแหละ
เครื่องปรุงและวิธีทำ            นำข้าวเหนียว ๑ ลิตร ล้างน้ำให้สะอาดประมาณ ๒ ครั้ง แล้วแช่ข้าวเหนียวไว้ประมาณ ๒-๓ ชั่วโมง นำข้าวเหนียวที่แช่น้ำไว้ไปโม่ เทแป้งข้าวเหนียวที่โม่เสร็จแล้วลงในกะทะทองเหลือง ใส่น้ำตาลทรายประมาณ ๑-๑.๕ กิโลกรัม ยกกระทะตั้งบนเตาไฟ ใช้ไม้พายกวนแป้งกับน้ำตาลไปเรื่อยๆ จนแห้งและเหนียว ยกเทใส่ถาดกระจายให้แป้งเต็มถาด วางไว้ให้เย็น เคี่ยวน้ำกะทิข้นๆ ประมาณ ๑ ถ้วย จนกะทิเป็นน้ำมัน และมีขี้มันเป็นสีแดงเข้ม ตักใส่ถ้วยไว้ ใช้มีดตัดขนมเป็นชิ้นๆ ขนาดเท่ากับขนมเปียกปูน แล้วตักน้ำมันและขี้มันราดลงเป็นขนมแต่ละชิ้น เสร็จแล้วนำไปรับประทานได้
ขนมกอและห์ เป็นขนมหวานที่มีรสหวาน เหนียวนุ่มอร่อย มักนิยมทำรับประทานกันในบ้านหรือทำเลี้ยงในงานกิจกรรมต่างๆ ของหมู่บ้าน นอกจากนั้นยังทำขายอยู่ทั่วไปในตลาดยะลา ประโยชน์ ๑. เป็นอาหารหวานใช้รับประทานได้
๒. เป็นอาหารที่ให้สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรท
๓. ในสังคมพื้นบ้านนิยมกวนขนมกอและห์แจกจ่าย แลกเปลี่ยนกันเป็นการสื่อความสัมพันธ์ในชุมชน
ขอขอบคุณที่มา  sites.google.com/site/noonoknoitisa/khnm-thiy-phakh-ti

วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

เสน่ห์ของขนมไทย


"ขนมไทย" มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมของความเป็นไทย นอกจากจะมีความงดงามวิจิตร ละเอียดอ่อน พิถีพิถันในทุกขั้นตอนการทำแล้ว ยังมีรสชาติที่อร่อย หอมกลิ่นพืชพรรณจากธรรมชาติ และกลิ่นอบร่ำควันเทียน อีกทั้งขนมแต่ละชนิดยังมีชื่อเรียกที่บ่งบอกถึงคุณค่า และแฝงไปด้วยความหมายอันเป็นสิริมงคล
ขนมไทย ไม่ปรากฏอย่างแน่ชัดว่าเริ่มต้นขึ้นมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ก็ยังมีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีย่านป่าขนมภายในกำแพงเมือง ซึ่งเป็นแหล่งรวมขนมโดยเฉพาะ อาทิเช่น ขนมกงเกวียน ขนมสำปันนี ขนมชะมด

สมัยสุโขทัย : จากประวัติศาสตร์ที่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศคือ จีนและอินเดียในสมัยสุโขทัย มีส่วนช่วยส่งเสริมการและเปลี่ยนวัฒนธรรม ด้านอาหาร การกินร่วมไปด้วย
สมัยอยุธยา : เริ่มมีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับต่างประเทศทั้งชาติตะวันออกและตะวันตก ไทยเรายิ่งรับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ เครื่องมือเครื่องใช้ วัตถุดิบที่หาได้ ตลอดจนนิสัยการบริโภคของคนไทยเอง จนบางทีคนรุ่นหลังแทบจะแยกไม่ออกเลยว่า อะไรคือขนมไทยแท้ๆ อะไรที่เรายืมเค้ามา เช่น ทองหยิบ ทองหยอดและฝอยทอง หลายท่านอาจคิดว่าเป็นของไทยแท้ๆ แต่ความจริงแล้วมีต้นกำเนิดจากประเทศโปรตุเกส โดย "มารี กีมาร์" หรือ "ท้าวทองกีบม้า"
"มารี กีมาร์" หรือ "ท้าวทองกีบม้า"เกิดเมื่อ พ.ศ. 2201 หรือ พ.ศ. 2202 แต่บางแห่งก็ว่า พ.ศ. 2209 โดยยึดหลักจากการแต่งงานของเธอที่มีขึ้นในปี พ.ศ. 2225 และขณะนั้น มารี กีมาร์ มีอายุเพียง 16 ปี บิดาชื่อ "ฟานิก (Phanick)" เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมแขกเบงกอล ผู้เคร่งศาสนา ส่วนมารดาชื่อ "อุรสุลา ยามาดา (Ursula Yamada)" ซึ่งมีเชื่อสายญี่ปุ่นผสมโปรตุเกส ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในอยุธยา ภายหลังจากพวกซามูไรชุดแรกจะเดินทางเข้ามาเป็นทหารอาสา ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไม่นานนัก เธอเป็นภรรยาเชื้อชาติญี่ปุ่น สัญชาติโปรตุเกสของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ผู้เป็นกงศุลประจำประเทศไทยในสมัยนั้น
ชีวิตช่วงหนึ่งของ "ท้าวทองกีบม้า" ได้เข้าไปรับราชการในพระราชวังตำแหน่ง "หัวหน้าห้องเครื่องต้น" ดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง เป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลอง
พระองค์ และเก็บผลไม้ของเสวย มีพนักงานอยู่ใต้บังคับบัญชาเป็นหญิงล้วน จำนวน 2,000 คน ซึ่งเธอก็ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ชื่นชม ยกย่อง มีเงินคืนทอง พระคลังปีละมากๆ ระหว่างที่รับราชการนี่เอง มารี กีมาร์ ได้สอนการทำขนมหวานจำพวก ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง ทองพลุ ทองโปร่ง ขนมผิงและอื่นๆ ให้แก่ผู้ทำงานอยู่กับเธอและสาวๆ เหล่านั้น ได้นำมาถ่ายทอดต่อมายังแต่ละครอบครัวกระจายไปในหมู่คนไทยมาจนปัจจุบันนี้
ถึงแม้ว่า "มารี กีมาร์" หรือ "ท้าวทองกีบม้า" จะมีชาติกำเนิดเป็นชาวต่างชาติ แต่เธอก็เกิด เติบโต มีชีวิตอยูในเมืองไทยจวบจนหมดสิ้นอายุขัย นอกจากนั้น ยังได้ทิ้งสิ่งที่เธอค้นคิด ให้เป็นมรดกตกทอดมาสู่คนรุ่นหลัง ได้กล่าวขวัญถึงด้วยความภาคภูมิ "ท้าวทองกีบม้า เจ้าตำรับอาหารไทย"

ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ : ตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่ 1 มีการแบ่งอาหารออกเป็นของคาวและของหวาน รวมถึงยังมีกาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ขนมไทยแต่ละชนิดจึงมีเรื่องราวที่น่าสนใจ และเปี่ยมเสน่ห์ในตัวเอง
ในสมัยรัตนโกสินทร์นี่เอง จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี กล่าวไว้ว่าในงานสมโภชพระแก้วมรกตและฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้มีเครื่องตั้งสำรับหวานสำหรับพระสงฆ์ 2,000 รูป ประกอบด้วย ขนมไส้ไก่ ขนมฝอย ข้าวเหนียวแก้ว ขนมผิง กล้วยฉาบ ล่าเตียง หรุ่ม สังขยา ฝอยทอง และขนมตะไล
ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่ รวมถึงตำราขนมไทยด้วย จึงนับได้ว่าวัฒนธรรมขนมไทยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรก ตำราอาหารไทยเล่มแรกคือแม่ครัวหัวป่าก์ เขียนโดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ในหนังสือเล่มนี้ มีรายการสำรับของหวานเลี้ยงพระได้แก่ ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมหม้อแกง ขนมหันตรา ขนมถ้วยฟู ขนมลืมกลืน ข้าวเหนียวแก้ว วุ้นผลมะปราง

จะเห็นได้ว่า ขนมจัดเป็นอาหารที่คู่สำรับกับข้าวไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ โดยใช้คำว่าสำรับกับข้าวคาว-หวาน โดยทั่วไปประชาชนจะทำขนมเฉพาะในงานเลี้ยง นับตั้งแต่การทำบุญเลี้ยงพระ งานมงคลและงานพิธีการ
ขนมไทย จึงเป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยอย่างหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดี เพราะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อนประณีตในการทำ ตั้งแต่วัตถุดิบ วิธีการทำ ที่กลมกลืน พิถีพิถัน ในเรื่องรสชาติ สีสัน ความสวยงาม กลิ่นหอม รูปลักษณะชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทาน ขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้น ๆ
ขนมไทยที่นิยมทำกันทุก ๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่าง ๆ เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนมจากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้น ๆ งานสิริมงคล ต่าง ๆ เช่น งานมงคลสมรส ทำบุญวันเกิด หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขกที่มาในงาน เพื่อเป็นศิริมงคลของงานขนมก็จะมีฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกัน ยืดยาวมีอายุยืน ขนมชั้น ก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เฟื่องฟู ขนมทองเอกก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น
ที่มา:http://www.oknation.net/blog/supawan/2012/08/25/entry-1

วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

ชื่อขนมไทยในโบราณ
กระยาสารท:  เป็นขนมหวานของไทย ทำจากถั่ว งา ข้าวคั่ว มาผัดกับน้ำตาล มักจะทำกันมากในช่วงสารทไทย
กล้วยไข่เชื่อม : กล้วยไข่ห่ามๆนำมาเชื่อมกับน้ำเชื่อมที่มีความเข้มข้น เวลารับประทานให้ราดด้วยหัวกะทิข้นๆ
กล้วยบวชชี:   กล้วยบวชชี เป็นขนมหวานชนิดหนึ่งที่คนทั่วไปรู้จักเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นขนมที่ดูเหมือน ธรรมดา แต่มีความเป็นเอกลักษณ์โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้า มะพร้าวหรือน้ำกะทิเป็นวัตถุดิบที่คนไทยนำมาใช้ประกอบอาหาร ตั้งแต่สมัยโบราณจนปัจจุบัน หรือจะใช้กล้วยไข่ก็ได้
กลีบลำดวน:  ขนมกลีบลำดวนเป็นขนมไทยที่มีมาแต่โบราณ เป็นขนมในงานพิธีมงคล นิยมเป็นของฝากในเทศกาลต่างๆ เป็นขนมที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนประณีต ตั้งแต่วัตถุดิบ และวิธีการทำ มีกลิ่น รส หอมหวานกลมกล่อม รูปทรงสวยเลียนแบบดอกลำดวนตามธรรมชาติ ขนมกลีบลำดวนมีส่วนผสมประกอบด้วย แป้งสาลี น้ำตาล น้ำมัน เป็นส่วนใหญ่
กะละแม:  กาละแมมีส่วนผสมตัวแป้งหรือข้าวเหนียว น้ำตาลปีบ และกระทิ กวนให้เป็นเนื้อเดียวกัน มีความเหนียว
แกงบวด:   ขนมประเภทน้ำเชื่อมและกะทิ
ขนมขี้หนู: เป็นขนมไทยโบราณ บ้างเรียกขนมทราย ทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำเชื่อม โรยหน้าด้วยมะพร้าว การรับประทาน ตักใส่ภาชนะ (จานแบนๆ) โรยด้วยมะพร้าวแก่ขูดฝอยตามชอบ (ไม่ใช่มะพร้าวซึก) ขนมที่ดีจะต้องเป็นเหมือนเม็ดทรายละเอียด ร่วนซุย ไม่จับเป็นก้อน หวามเล็กน้อย หอมชื่นใจเมื่อทาน

ขนมเขียว: เป็นขนมพื้นบ้านของจังหวัดปราจีนบุรี ต้นกำเนิดอยู่ที่อำเภอนาดี เป็นขนมลูกผสมระหว่างข้าวเกรียบปากหม้อกับขนมถั่วแปบ เปลือกที่ใช้ห่อข้างนอกใช้แป้งข้าวเจ้าที่เป็นแป้งโม่ โดยผสมข้าวเจ้าแข็ง น้ำปูนใส ใบเตยสับนำไปโม่ด้วยเครื่องโม่จนได้น้ำแป้งสีเขียว นำไปผสมกับแป้งข้าวเจ้าชนิดและแป้งมัน นำไปละเลงบนผ้าขาวบางที่คลุมอยู่บนปากหม้อที่ตั้งน้ำไว้จนเดือด พอสุกแคะใส่จาน ตักไส้ที่ประกอบด้วยถั่วเหลือง มะพร้าวขูด น้ำตาลทราย และเกลือ พับครึ่ง ตักใส่จาน ขนมนี้ต่างจากข้าวเกรียบปากหม้อที่ไม่ต้องกินกับผัก และไม่ต้องกินกับน้ำตาลทรายโรยเกลือเหมือนขนมถั่วแปบ

ขนมไข่ปลา:ทำจากแป้งข้าวเหนียวผสมเนื้อตาลเอาไปต้มสุก ได้แป้งสีเหลือง หรือผสมเผือกเพื่อให้ได้แป้งสีขาว เวลากินต้องคลุกกับมะพร้าวขูดเป็นเส้นและน้ำตาล
ขนมครก:เป็นขนมไทยโบราณชนิดหนึ่ง ทำจากแป้ง น้ำตาล และกะทิ แล้วเทลงบนเตาหลุม เวลาจะทานต้องแคะออกมา เป็นแผ่นวงกลม แล้วมักวางประกบกันตอนรับประทาน
ขนมช่อม่วง :ขนมช่อม่วงจัดเป็นอาหารว่างของคนไทยตั้งแต่โบราณ เป็นขนมที่ต้องใช้ความประณีต ในการจับจีบตัวแป้งหลังการห่อหุ้มไส้แล้วให้มีลักษณะเป็นรูปดอกไม้ ทำให้มีลักษณะขนมที่ดูนุ่มนวล อ่อนหวาน แฝงความมีศิลปะของขนมไทยชาววัง ยิ่งรสชาติของไส้ที่มีเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมูสับ กุ้ง ปลา เป็นต้น นำมาผัดกับรากผักชี กระเทียม พริกไทย ทำให้ขนมช่อม่วงเป็นขนมที่มีเอกลักษณ์ของความเป็นไทยครบถ้วนและควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้
ขนมชะมด:  ขนมนี้จัดเป็นขนมเสี่ยงทายในงานแต่งงาน ไส้เป็นถั่วทองแช่น้ำนึ่งสุกโขลกผสมเกลือและพริกไทย เป็น 3 ลูกบีบติดแล้วชุบแป้งทอด ถ้าทอดแล้วแยกออกจากกัน หมายความว่าจะอยู่ด้วยกันไม่ยืด ถ้ายังติดกัน 2 ลูก หมายความว่าจะมีลูกยาก บางทีต้องชุบแป้ง 3-4 ครั้งจึงไม่แตกจากกัน การแตกจากกันของขนมนี้หมายถึงความแตกแยกของคู่สมรส บางครั้งต้องเปลี่ยนคนทำใหม่ เรียกว่า หาหมอมาแก้

ขนมชั้น:  ขนมชั้น เป็นขนมไทยโบราณที่ใช้ในงานพิธีมงคล โดยมีความเชื่อว่าจะต้องหยอดขนมให้ได้ 9 ชั้น จึงจะเป็นศิริมงคลเจริญก้าวหน้าแก่เจ้าภาพ ส่วนผสมของขนมส่วนใหญ่จะเป็นกะทิ และน้ำตาล แป้ง 3 – 4 ชนิด แล้วแต่สูตรและความชอบเนื้อขนมในแต่ละแบบ
ขนมต้ม:  ขนมต้มขาวนั้น ใช้แป้งข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนกลม ใส่ไส้น้ำตาลหม้อ ลงไปต้มให้สุก โรยด้วยมะพร้าวขูด ต่อมาจึงทำหน้ากระฉีก ซึ่งเป็นมะพร้าวขูดมาเคี่ยวกับน้ำตาลหม้อจนเหนียว ใช้เป็นไส้แทน ส่วนขนมต้มแดง ใช้แป้งข้าวเหนียวแผ่เป็นแผ่นแบน ต้มให้สุก ราดด้วยหน้ากระฉีกที่ค่อนข้างเหลว[
ขนมตาล:  เป็นขนมไทยดั้งเดิม เนื้อขนมมีลักษณะเป็นแป้งสีเหลืองเข้ม นุ่ม ฟู มีกลิ่นตาลหอมหวาน ขนมตาลทำจากเนื้อตาลจากผลตาลที่สุกงอม แป้งข้าวเจ้า กะทิ และน้ำตาล ผสมกันตามกรรมวิธี ใส่กระทงใบตอง โรยมะพร้าวขูด และนำไปนึ่งจนสุก เนื้อลูกตาลยีที่เป็นส่วนผสมในการทำขนมตาล ได้จากการนำผลตาลที่สุกจนเหลืองดำ เนื้อข้างในมีสีเหลือง มีกลิ่นแรง ซึ่งส่วนมากจะหล่นจากต้นเอง มาปอกเปลือกออก นำมายีกับน้ำสะอาดให้หมดสีเหลือง นำน้ำที่ยีแล้วใส่ถุงผ้า ผูกไว้ให้น้ำตกเหลือแต่เนื้อลูกตาล

ขนมถังแตก:  ขนมประเภททอดและฉาบ
ขนมถั่วแปบ:  ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวห่อไส้ที่เป็นถั่วเหลือง มะพร้าวขูด แล้วนำไปนึ่ง ขนมที่มีลักษณะใกล้เคียงกับขนมถั่วแปบคือขนมเขียว มีไส้เป็นแบบเดียวกัน

ขนมถ้วยฟู:  ขนมประเภทนึ่งและกวน
ขนมเทียน: มีอีกชื่อหนึ่งว่าขนมนมสาว ทางภาคเหนือเรียก ขนมจ็อก ซึ่งเป็นขนมที่นิยมใช้ในงานบุญของชาวเชียงใหม่โดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์ แต่เดิมมีไส้มะพร้าวและไส้ถั่วเขียว แต่ในปัจจุบันมีการดัดแปลงไส้ขนมจ็อกออกไปหลากหลายมาก ชาวจีนใช้ขนมเทียนในการไหว้บรรพบุรุษช่วงวันตรุษและวันสารท ไส้เป็นถั่วเขียวกวนบด ถ้าแบบเค็มจะใส่พริกไทยและเกลือ แบบหวานใส่มะพร้าวและน้ำตาลลงไปเพิ่ม ถ้าตัวแป้งทำด้วยแป้งถั่วเรียกขนมเทียนแก้ว
จ่ามงกุฎ:  มงกุฎ สื่อความหมายถึง อยู่ตำแหน่งสูง สง่าสงาม ขนมจ่ามงกุฎ เป็น ขนมโบราณของไทย ที่มีขั้นตอนทำยาก สลับซับซ้อน ปัจจุบันหารับประทานค่อนข้างยาก “จ่ามงกุฎ” หมายถึง อยู่ตำแหน่งสูงสุด เป็นหัวหน้าสูงสุด ซึ่งแสดงถึงความมีเกียรติยศ ชื่อเสียง สมัยก่อนนิยมให้เป็นของขวัญอวยพร เมื่อได้เลื่อนยศ หรือ เลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงาน อวยพรเพื่อให้ได้รับตำแหน่ง หน้าที่การงานสูงขึ้นยิ่ง ๆ ไป ขนมจ่ามงกุฎ มีความเป็นสิริมงคล จึงนิยมใช้ประกอบเครื่องคาวหวานในงานแต่งงาน

ตะโก้: ขนมประเภทกวนและนึ่ง
ถั่วกวน: ขนมประเภทกวนและนึ่ง ทำจากถั่วลิสง
ถั่วตัด:  ทำจากถั่ว งา ลักษณะเป็นแผ่น อร่อยกรอบและหวานมัน
ทับทิมกรอบ:  ทับทิมกรอบเป็นขนมหวานที่รับประทานได้ทุกฤดูกาล นิยมมากที่สุดในฤดูร้อน รับประทานแล้วหอมหวานเย็นอร่อยชื่นใจคลายร้อนได้ดี ประกอบด้วยเม็ดทับทิมกรอบสีแดงสดใสและเม็ดทับทิมกรอบสีชมพูสวย เมื่อเคี้ยวแล้วกรอบมันด้วยรสชาดของแห้ว มีน้ำเชื่อมที่ทำจากน้ำตาลทราย ลอยด้วยดอกมะลิ มีกะทิสดจากการคั้นมะพร้าว น้ำแข็งบดละเอียดหรือน้ำแข็งทุบให้เป็นเม็ดเล็กๆ หอมชื่นใจ

ทองม้วน: เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นม้วนกลมเป็นวง มีลักษณะกรอบ โดยมีส่วนผสมหลักคือ แป้ง มะพร้าว น้ำตาลปีบ ไข่ไก่ น้ำมันพืช และ งาดำ




ทองหยิบ: เป็นขนมโปรตุเกส ทำจากแป้งผสมกับไข่ ตีให้แบนเป็นแผ่นกลมๆ และทำให้สุกในน้ำเดือดผสมกับน้ำตาลเคี่ยว แล้วจับจีบใส่ในถ้วย

ทองหยอด: เป็นขนมโปรตุเกส มีถิ่นกำเนิดจากเมืองอเวโร (โปรตุเกส: Aveiro) เมืองชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศโปรตุเกส ทำจากแป้งผสมกับไข่แดงและน้ำ หยอดลงในน้ำเดือดเคี่ยวกับน้ำตาล เมื่อแป้งสุกจะเป็นเม็ดคล้ายหยดน้ำ มีสีเหลืองทอง

ทองเอก: ขนมไทยที่มีส่วนผสมของแป้งสาลี น้ำตาล ไข่แดง และกะทิ กวนจนข้น แล้วนำใส่แม่พิมพ์ให้ได้รูปตามที่ต้องการ จากนั้นจึงแคะออกจากแม่พิมพ์ แล้วนำมาอบด้วยเทียนอบ

บัวลอย:ขนมไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติอย่างหนึ่ง ด้วยมีกลิ่นหอม และมีรสชาติกลมกล่อม และหนึ่งในขนมไทยที่ได้รับความนิยมมาโดยตลอด คือ บัวลอย-ไข่หวาน เพราะบัวลอย-ไข่หวาน เป็นขนมที่ทำง่าย รสชาติอร่อย มากด้วยคุณค่าทางอาหาร

บ้าบิ่น: ด้านหน้า และ ด้านล่าง ควรเกรียมเหลือง แต่ข้างในนุ่ม จึงจะเป็นลักษณะ ของขนมบ้าบิ่นที่ถูกต้องผิวขนมแห้งแต่ส่วนข้างใน นุ่มเหนียวรสหวานหอมมัน
ปลากริมไข่เต่า: เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งซึ่งนำขนมปลากริม และขนมไข่เต่ามารับประทาน ด้วยกัน ให้รสหวานจากขนมปลากริม และรสเค็มจากขนมไข่เต่าผสมรวมกัน
เผือกกวน: ขนมประเภทกวนและนึ่ง
ฝอยทอง: ฝอยทอง เป็นขนมโปรตุเกส ลักษณะเป็นเส้นฝอยๆ สีทอง ทำจากไข่แดงของไข่เป็ด เคี่ยวในน้ำเดือดและน้ำตาลทราย ชาวโปรตุเกสใช้รับประทานกับขนมปัง กับอาหารมื้อหลักจำพวกเนื้อสัตว์ และใช้รับประทานกับขนมเค้ก โดยมีกำเนิดจากเมืองอาไวโร่ (โปรตุเกส: Aveiro) เมืองชายฝั่งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศโปรตุเกส

มะพร้าวแก้ว:ทำจากมะพร้าว มีรสชาติหอม หวาน และมัน
เม็ดขนุน:ลักษณะคล้ายกับเม็ดขนุน เป็นของหวาน ที่รวมอยู่กับเครื่องทองทั้งหลาย
ลา: หรือขนมลา เป็นขนมหวานพื้นบ้านของทางภาคใต้ ของประเทศไทย ซึ่งทำมาจากแป้งข้าวเจ้า เป็นขนมสำคัญหนึ่งในห้าชนิดที่ใช้สำหรับจัดหฺมฺรับเพื่อนำไป ถวายพระสงฆ์ในงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ซึ่งเป็นงานบุญประเพณีที่สำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราชโดยอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับ ชาวนครศรีธรรมราชปรุงขนมลาขึ้นเพื่อเป็นเสมือนแพรพรรณเสื้อผ้าวุ้นกะทิ
ลูกชุบ:  มีส่วนผสมของถั่ว ขนมลูกชุบการทำลูกชุบจะต้องอาศัยใจรักการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญความประณีต
สังขยาฟักทอง:ขนมประเภทกวนและนึ่ง สังขยาในลูกฟักทอง ที่รสชาติหวานมันและเนียนนุ่ม
สาคูเปียก:  ขนมไทยแบบง่ายๆ ที่มีรสหวานนุ่มเนื้อสาคูเปียกเม็ดกลมใสเมื่อรับประทาน นำ สาคูเปียกมาผสมกับถั่วดำแกงบวดเนื้อนุ่มรสหวานหอมน้ำตาลมะพร้าว
สำปะนี: ขนมประเภทกวนและนึ่ง
เสน่ห์จันทร์:เป็นขนมที่ทำจากแป้ง น้ำตาล กะทิ และไข่แดง กวนผสมเข้าด้วยกันจน แห้ง จึงเรียกขนมชนิดนี้ว่า ขนมเสน่ห์จันทน์
ขอขอบคุณที่มา 
Posted by บน มีนาคม 12, 2011 in คลังคำศัพท์, รายชื่อขนมไทย